hotline: 08-1991-4252, 08-1991-6768 สายด่วนโทรเลย
กล่องลูกฟูก (Corrugations Box)
ใบปลิว (Flyers)
แผ่นพับ (Leaflets)
โบว์ชัวร์ Brochures (หนังสือเล่มเล็ก)
ฉลากสินค้า (Labels)
กล่องบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
สาระน่ารู้ (Knowledge)
เกี่ยวกับเรา (About us)
ตัวอย่างงาน (Sample work)
ติดต่อเรา (Contact us)
พิมพ์สติ๊กเกอร์ราคาพิเสษสุด
 


คลิกเพื่อดูขนาดใหญ่่

 
คลิกเพื่อดูขนาดใหญ่
สาระน่ารู้ Knowledge เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ และการออกแบบ
...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซด์ kscpackage ค่ะ โทรเลย สายด่วน. 062-9961644 ตลอดเวลา 8.00-21.00 น.
 
     
 
เป็นระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทไม่ใช่ระบบพิมพ์อิงค์เจ็ท

สาระน่ารู้เเกี่ยวกับกระดาษ

สาระน่ารู้เเกี่ยวกับกระดาษกลับหน้าเดิม

บางท่านอาจจะสับสนกับเรื่องกระดาษที่ใช้สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ เราทำได้สรุปประเภทของกระดาษ ลักษณะการใช้งาน เพื่อช่วยให้ท่านได้เข้าใจ และสามารถเลือกประเภทกระดาษ ที่จะนำไปใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ของท่านอย่างเหมาะสม...

แต่ที่จริงแล้วกระดาษแยกเป็นกี่ประเภท? อะไรบ้าง? ต้องลองมาดูกัน...

ผู้คิดค้นกระดาษ
เชื่อกันว่ากระดาษถูกคิดค้น และใช้งานครั้งแรกโดยชาวอียิปต์โบราณ เมื่อราว 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งกระดาษในสมัยนั้นถูกผลิตขึ้นมาจากกกชนิดหนึ่ง ชื่อ "พาไพรัส" ส่วนวัสดุที่ใช้เขียนในสมัยนั้นก็มีมากมายหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น แผ่นโลหะ หิน ใบลาน หรือเปลือกไม้

ประเภทของกระดาษ
ความจริงแล้วกระดาษ สามารถถูกแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ กระดาษเคลือบผิว และกระดาษไม่เคลือบผิว

กระดาษเคลือบผิว
ได้แก่ กระดาษที่ถูกนำไปเคลือบผิวให้เกินความมัน หรือความด้านตามต้องการ ซึ่งกระดาษประเภทเคลือบผิวที่เราพบเห็นได้บ่อยมากที่สุด ก็คือ "กระดาษอาร์ต" นั่นเอง

กระดาษอาร์ตก็จะมีทั้ง กระดาษอาร์ตมัน และกระดาษอาร์ตด้าน ซึ่งกระดาษทั้ง 2 ประเภทนี้มี คุณสมบัติเด่นคือ สามารถนำไปพิมพ์งานที่มีสีสันได้สดใส สวยงาม ดังนั้น กระดาษประเภทเคลือบผิว จะเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความสวยงามของสีสันของงานพิมพ์นั่นเอง
ตัวอย่างงานพิมพ์ที่ใช้กระดาษเคลือบผิวที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ งานพิมพ์ประเภทนิตยสาร ที่วางขายอยู่ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น นิตยสารดิฉัน, แพรว, บ้านและสวน เป็นต้น

ส่วนความหนาของกระดาษแบบเคลือบผิวนี้ ก็มีตั้งแต่ 90 - 310 แกรม แล้วแต่ความเหมาะสมของประเภทงานพิมพ์

กระดาษไม่เคลือบผิว
ได้แก่ กระดาษที่ไม่ได้ถูกนำไปเคลือบผิวให้เกิดความมัน หรือความด้าน ซึ่งกระดาษประเภทไม่เคลือบผิวที่พบเห็นกันได้มากที่สุด ก็คือ "กระดาษปอนด์" นั่นเอง

หากท่านคิดไม่ออกว่ากระดาษปอนด์หน้าตาเป็นอย่างไร ก็คิดถึงกระดาษถ่ายเอกสารทั่วๆ ไป หลายหลายยี่ห้อ ที่ขายกันอยู่ตามห้างสรรพสินค้านั่นแหละ

เนื่องจากประเภทนี้ มีคุณสมบัติในการรับหมึกที่ไม่ดีเท่ากับกระดาษประเภทเคลือบผิว เราจึงไม่ค่อยได้เห็นการนำกระดาษประเภทนี้มาใช้พิมพ์งานที่มีสีสันมากนัก แต่กระดาษประเภทนี้ ก็เป็นที่นิยมสำหรับงานพิมพ์ที่เป็นงานพิมพ์ 1 สี เช่น งานเนื้อในของหนังสือ หรือตำรา (ที่พิมพ์เป็น 1 สี) เป็นต้น

ความหนาของกระดาษปอนด์ที่นิยมใช้กันอยู่ คือ 70 แกรม และ 80 แกรม

ความจริงแล้วทั้งกระดาษประเภทเคลือบผิว และไม่เคลือบผิว ยังมีชนิดของกระดาษแต่ละประเภทยิบย่อยลงไปอีก เช่น พวกกระดาษผิวพิเศษต่างๆ ซึ่งเราไม่ได้นำมาพูดถึงในที่นี้

การเลือกประเภทของกระดาษให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับคุณภาพงานพิมพ์ และต้นทุนที่เหมาะสมของการผลิตงานสิ่งพิมพ์นั่นเอง

ขนาดมาตรฐานของกระดาษแบบแผ่น
ผู้ผลิตและจำหน่ายกระดาษขนาดใหญ่สำหรับใช้ในโรงพิมพ์จะมีการบรรจุกระดาษเป็นห่อ ๆ ละ 500 แผ่นซึ่งเรียกว่า 1 รีม และมีการจัดขนาดของกระดาษเป็นมาตรฐานดังนี้

ขนาด 31 x 43 นิ้ว
ขนาด 35 x 43 นิ้ว
ขนาด 28 x 40 นิ้ว
ขนาด 25 x 36 นิ้ว
ขนาด 24 x 35 นิ้ว

(นอกจากนี้ยังมีกระดาษบางประเภทซึ่งมีขนาดบรรจุสำหรับจำหน่ายต่างไปจากที่กล่าวมาแล้วนี้)

ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 35 x 43 นิ้วและ 28 x 40 นิ้ว ส่วนการพิมพ์สิ่งพิมพ์ทั่วไปรวมถึงหนังสือต่างๆ มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว (ขนาด 31 x 43 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด B ซึ่งใหญ่กว่าขนาด B1 เล็กน้อยเพื่อเผื่อไว้สำหรับขบวนการพิมพ์ ส่วนขนาด 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด A ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า A1 เล็กน้อย) อนึ่งกระดาษแต่ละชนิดแต่ละน้ำหนักอาจไม่มีขนาดจำหน่ายครบตามขนาดมาตรฐานที่ระบุไว้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายแต่ละราย

ขนาดพิมพ์
เครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนแผ่นมีขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งยังผลให้ต้องตัดเจียนกระดาษที่สั่งซื้อมาให้เหมาะเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องก่อนที่จะนำมาพิมพ์งาน ขนาดของเครื่องพิมพ์จะเรียกตามขนาดกระดาษที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเข้าเครื่องได้ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

ขนาดตัดหนึ่ง พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด 35 x 49 นิ้ว
ขนาดตัดสอง พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด 25 x 36 นิ้ว
ขนาดตัดสองพิเศษ พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด 28 x 41 นิ้ว
ขนาดตัดสาม พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด 21 x 31 นิ้ว
ขนาดตัดสี่ พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด 18 x 25.5 นิ้ว
ขนาดตัดสี่พิเศษ พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด 21 x 28 นิ้ว

นอกจากนี้ยังมีเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก คือ ขนาดตัดห้า ขนาดตัดแปด ขนาดตัดสิบเอ็ด หรือเล็กกว่านั้น

เครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนม้วนจะวัดขนาดด้วยข้อจำกัดของเส้นรอบวงของโมลพิมพ์ โดยมีขนาดด้านเข้าเครื่องตายตัว ส่วนด้านขวางเครื่องสามารถปรับความกว้างได้ ส่วนใหญ่เครื่องพิมพ์ที่มีอยู่จะมีขนาดด้านเข้าเครื่องจะมี 21 นิ้ว กับ 24 นิ้ว

ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ให้คำนึงถึงชิ้นงานเทียบกับแผ่นพิมพ์เพื่อเป็นการประหยัดและไม่ให้เกิดการเสียเศษกระดาษ สำหรับการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่น ให้นำชิ้นงานมาวางลงในกระดาษขนาดพิมพ์ซึ่งถูกตัดแบ่งมาจากขนาดมาตรฐานต่าง ๆ (เช่น กระดาษขนาด 31 x 43 นิ้ว เข้าเครื่องตัดสี่ ต้องแบ่งสี่ส่วนได้แผ่นพิมพ์ขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว) ว่ามีการเสียเศษมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้ต้องไม่วางชิดจนเกินไป ให้มีการเว้นช่องว่างระหว่างชิ้นงานไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิเมตร และเว้นระยะห่างของชิ้นงานจากขอบกระดาษด้านยาวด้านหนึ่งไม่ต่ำกว่า 20 มิลลิเมตร ส่วนด้านที่เหลือไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิเมตร

ชนิดของกระดาษ
การจำแนกกระดาษสามารถจัดแบ่งได้หลายวิธี ในที่นี้จะจัดแบ่งชนิดของกระดาษที่ใช้ในวงการพิมพ์ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้

กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint)
เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก

กระดาษแบ้งค์ (Bank Paper)
เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น

กระดาษปอนด์ (Bond Paper)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้

กระดาษอาร์ต (Art Paper)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สองสี
เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์

กระดาษฟอกขาว (Woodfree Paper)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่นสูง การดูดซึมน้อย ใช้สำหรับงานพิมพ์หนังสือ กระดาษพิมพ์เขียน

กระดาษเหนียว (Kraft Paper)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อซัลเฟต (เยื่อใยยาวที่ผลิตโดยใช้สารซัลเฟต) จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ

กระดาษการ์ด (Card Board)
เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง

กระดาษกล่อง (Box Paper)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ

กระดาษแข็ง (Hard Board)
เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ

กระดาษแฟนซี (Fancy Paper)
เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์

กระดาษอื่น ๆ
นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ

กลับหน้าเดิม

 
     
 
  หน้าแรก l กล่องลูกฟูก Corrugations box l ใบปลิว Flyers l แผ่นพับ Leaflets โบว์ชัวร์ Brochures l ฉลากสินค้า Labels l หีบห่อบรรจุสินค้า Packaging สาระน่ารู้ Knowledge l
เกี่ยวกับเรา About us l ตัวอย่างงาน Sample works l ติดต่อเรา Contact us
 

36 ซอยข้าวสาร แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
E-mail : kscpackage@yahoo.com, kscpackage@hotmail.com

 
กลับหน้าแรกกันเถอะส่งเมล์ด่วนถึงเรา แผนที่เว็บ กันหลง เปลี่ยนภาษาไทย เปลี่ยนภาษาอังกฤษ หน้าแรก